Search for:
  • Home/
  • Games News/
  • ลูกหนี้เรื้อรังเตรียมใจ! ต้องจ่ายค่างวดเพิ่ม แลกลดดอกเบี้ย ขีดเส้นจบ 4 ปี

ลูกหนี้เรื้อรังเตรียมใจ! ต้องจ่ายค่างวดเพิ่ม แลกลดดอกเบี้ย ขีดเส้นจบ 4 ปี

น.ส.ธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า จากแนวทางแก้หนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องการเร่งแก้หนี้เรื้อรังกลุ่มลูกหนี้ลักษณะวงเงินหมุนเวียนด้วยการปรับลดดอกเบี้ยจากเพดาน 25% ต่อปี เป็น 12% ต่อปี และต้องให้ลูกหนี้ผ่อนจบภายในเวลา 4 ปี จะทำให้ลูกหนี้ต้องจ่ายค่างวดผ่อนชำระเพิ่ม 24.6% เช่น หากมีหนี้เฉลี่ย 69,000 บาท และมีค่างวดเดิม 1,438 บาท จะต้องจ่ายค่างวดเพิ่มขึ้น 351 บาทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

นอกจากนี้คาดว่าจะกระทบกับกำไรธนาคารพาณิชย์ไทย 1.7-1.9% หรือรายได้ดอกเบี้ยหายไป 4,300-4,700 ล้านบาท จากผลกำไรสุทธิระบบธนาคารพาณิชย์ไทยปี 65 อยู่ที่ 2.09 แสนล้านบาท ทั้งนี้หนี้กลุ่มเรื้อรังรุนแรง เป็นกลุ่มที่มีปัญหาการผ่อนชำระค่างวดแต่ไม่เกิน 3 เดือน และมีหนี้หลายก้อน ทำให้มีโอกาสผ่อนเฉพาะดอกเบี้ย หรือจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ที่ 0.19-0.23% ของสินเชื่อรวม หรือจากการรวบรวมข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทยอยู่ที่ 22,800-26,800 ล้านบาท

ทั้งนี้ขอฝากรัฐบาลใหม่ที่ยังเป็นห่วงเรื่องหนี้ที่ยังแก้ยาก คือหนี้ครู หนี้ข้าราชการและหนี้เกษตร โดยรัฐบาลใหม่ควรให้ความสำคัญกับการแก้หนี้ก้อนใหญ่อื่นๆ ที่มีความซับซ้อนและยังไม่ได้รับการดูแล หนี้ก้อนใหญ่ที่ 10.5% ของหนี้ครัวเรือน หรือ 9.5% ต่อจีดีพี เช่น หนี้ครู 1.4 ล้านล้านบาท หนี้ข้าราชการตำรวจ 2.7 แสนล้านบาท ที่ต้องอาศัยการแก้ไขแบบบูรณาการจากทุกหน่วยงาน และหนี้ของบริษัทบริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) ที่ในช่วงตั้งแต่ปี 61 จนถึงปัจจุบันยอดหนี้ที่รับมาจากในระบบธนาคารอีกเป็นหลักแสนล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมา ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการที่เคยออกมาแล้วอย่างเต็มที่คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

อย่างไรก็ตามหนี้ของเอเอ็มซีมีทั้งหนี้บุคคลและหนี้ธุรกิจรายย่อยหากไมได้รับความช่วยเหลือจะมีผลต่อความสามารถในการดำรงชีพของครัวเรือนและธุรกิจฐานรากของไทยในระยะข้างหน้า เพราะถ้าจ่ายไม่ได้หนี้มีหลักประกันจะโดนบังคับคดี ส่วนหนี้ที่ไม่มีหลักประกันจะถูกฟ้องล้มละลาย ซึ่งขอฝากเป็นโจทย์รัฐบาลใหม่ก้าวออกมาเพื่อมองออกไป

น.ส.ธัญญลักษณ์ กล่าวว่า ระดับหนี้ครัวเรือนไทยหลังจากธปท.ปรับข้อมูลใหม่อยู่ที่ 90.6% ต่อจีดีพี คาดว่าในสิ้นปี 66 หนี้ครัวเรือนจะอยู่ที่ 88.5-91% หรือเติบโต 3-4% เทียบกับปีก่อน แม้สัดส่วนดูแล้วหนี้ลดลงแต่เป็นเพราะเชิงเทคนิคที่ระดับจีดีพีเพิ่มขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าระดับหนี้จะลด หรือจะกังวลน้อยลง และเชื่อว่าภายใน 5 ปีนี้ จะยังไม่เห็นหนี้ครัวเรือนลดต่ำกว่า 80% ต่อจีดีพีการลดหนี้ครัวเรือนจะเป็นความท้าทายโจทย์ใหญ่ให้รัฐบาลใหม่ ซึ่งหากต้องการแก้หนี้ครัวเรือนได้อย่างยั่งยืน จะต้องแก้ที่รายได้ เพราะหลังจากสำรวจการปิดจบหนี้ไม่ได้ เพราะคนมีหนี้หลายก้อน และมีปัญหาเรื่องรายได้

“หนี้เรื้อรังต้องจบหนี้ภายใน 4 ปี ลูกหนี้ต้องมาพิจารณาตรงนี้ด้วย ต้องใส่เงื่อนไขนี้ด้วย กลุ่มหนี้เรื้อรังเป็นกลุ่มที่จ่ายเงินต้นน้อยกว่าดอกเบี้ย หากแนวทางให้แก้หนี้เรื้อรังในระยะเวลา 4 ปี แต่งวดเพิ่มขึ้นจะยอมรับได้หรือไม่ โดยหากต้องการให้หนี้ครัวเรือนลดลงต่ำกว่า 80% ภายในปี 71 จะต้องดูแลให้หนี้โตไม่เกินปีละ 3% หนี้ใหม่โตช้าลง หนี้เดิมลดเร็วขึ้น เพิ่มการเข้าถึงสินเชื่อ และจีดีพีต้องโตไม่ต่ำกว่า 5.5% จากค่าเฉลี่ยก่อนโควิดคือ 5%”